อาการท้องผูกมีสิทธิ์เกิดขึ้นได้กับทุกคน อาการส่วนใหญ่ที่ทราบกันดีคือ จะมีอาการถ่ายไม่ออกเป็นประจำ บางคนอาศัยการยาถ่ายเข้าช่วย บ่อยๆ จนรู้ตัวอีกทีก็ท้องผูกจนไม่สามารถขับถ่ายได้เองตามระบบของลำไส้ เกิดเป็นอาการท้องผูกเรื้อรังนั่นเอง
ท้องผูกเรื้อรังคืออะไร?
ท้องผูกเรื้อรังคือ อาการที่คุณขับถ่ายลำบาก หรือขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไป แบบนี้ในทางการแพทย์สามารถวินิจฉันว่าคุณเป็นโรคท้องผูกเรื้อรังได้แล้ว
โดยทั่วไป กิจวัตรการขับถ่ายของแต่ละคนมักจะแตกต่างกันออกไป บางคนสามารถถ่ายได้วันละหลายรอบ แต่บางคน สามารถขับถ่ายได้ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ หากมีอาการขับถ่ายที่น้อยกว่ากิจวัตรของคุณนั่นเข้าข่ายโรคท้องผูกแล้ว
สาเหตุโรคท้องผูกเรื้อรัง
ท้องผูกเรื้อรังเกิดจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ชีวิต การทานยา หรือปัญหาเรื่องระบบการทำงานของลำไส้
ปัจจัยของโรคท้องผูกเรื้อรังที่เกิดจากชีวิตประจำวัน
- การไม่ทานอาหารที่มีไฟเบอร์อย่างเหมาะสม
- การไม่ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- การไม่ออกกำลังกายให้เหมาะสม
- การเปลี่ยนชีวิตประจำวันกระทันหัน เช่น การท่องเที่ยว, กิน หรือนอนในที่แปลกใหม่ที่ไม่เหมือนปกติ
- ความเครียด
ปัจจัยของโรคท้องผูกเรื้อรังที่เกิดจากการรับประทานยาบางชนิด
- ยาแก้ปวดชนิดรุนแรง
- ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ กลุ่มเอ็นเซดอย่าง ไอบูโพรเฟน
- ยาปฏิชีวนะ แอนติไบโอติก (Antibiotics) ยาปฏิชีวนะที่ยับยั้งการเติบโต และการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตในร่างกาย พวกจุลินทรีย์ต่างๆ รวมไปถึงโพรไบโอติกส์ด้วย
ยังมียาอีกหลายชนิดที่เมื่อรับประทานแล้วจะส่งผลให้เกิดอาการท้องผูก และเสี่ยงต่อการเป็นโรคท้องผูกเรื้อรังได้ ดังนั้นก่อนรับประทานยาเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชเพื่อให้ความรู้เรื่องการรับประทาน
ปัจจัยของโรคท้องผูกเรื้อรังที่เกิดจากเงื่อนไขสุขภาพอื่นๆ
- โรคที่เกี่ยวข้อง และเกิดขึ้นจากไทรอยด์ เช่น ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือแคลเซียมในเลือดผิดปกติเป็นต้น
- โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- โรคลำไส้แปรปรวน
- โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ
- ตั้งครรภ์
อาการของโรคท้องผูกเรื้อรัง
- มีการขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อน แข็ง แห้ง
- ขับถ่ายยาก และมีอาการเจ็บเมื่อขับถ่าย
- มีอาการปวดท้องร่วมด้วย
- รู้สึกถ่ายไม่เสร็จ เหมือนยังไม่โล่งท้อง
ท้องผูกเรื้อรัง กินอะไรดี?
เมื่อมีอาการท้องผูกเรื้อรังอันดับแรกควรทานอาหารที่จะทำให้อุจจาระอ่อนตัว เพื่อให้ง่ายต่อการขับถ่าย อย่างเช่น
- อาหารที่มีส่วนผสมของน้ำเป็นจำนวนมาก เช่นน้ำเปล่า ผลไม้ที่มีน้ำมากๆ
- มองหาอาหารที่มีกากใย หรือไฟเบอร์สูง ไม่ว่าจะเป็นฝรั่ง มะละกอสุก หรือแม้แต่ธัญพืช ข้าวโอ๊ตเป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
ท้องผูกเรื้อรังในเด็ก
เด็กทารกในช่วงแรกจะมีการขับถ่ายที่ค่อนข้างถี่ จากวันละ 3-5 ครั้ง แต่หลังจาก 2-3 เดือนเป็นต้นไป จะลดลงเหลือเพียงวันละ 1-2 ครั้ง แต่การสังเกตอาการของลูกน้อยที่มีภาวะท้องผูกเรื้อรัง ให้ดูว่า เขาขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือไม่ ร่วมกับการสังเกตลักษณะของอุจจาระด้วย หากตอนขับถ่ายอุจจาระมีลักษณะนุ่มจะถือว่าปกติ แต่หากเป็นก้อนแข็งๆ ลูกน้อยมีอาการร้องไห้งอแงตอนเบ่งอุจจาระก็จะถือว่ามีอาการท้องผูกเรื้อรังนั่นเอง
วิธีแก้ท้องผูกแบบเร่งด่วน
เราสามารถแก้อาการท้องผูกแบบเร่งด่วนจากการทานอาหาร หรือสิ่งที่สามารถหาทานได้ง่ายๆ ในบ้านเพื่อให้กระตุ้นการขับถ่ายเบื้องต้นได้
- ดื่มน้ำ 2-4 แก้วใหญ่ต่อวัน เลี่ยงการทานคาเฟอีก แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ทำให้ร่างกายย่อยยาก เช่นเนื้อ ของทอด ของมัน ขนมปังขาว หรือมันฝรั่ง
- ทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ที่มีไฟเบอร์สูง ส่วนอาหารที่มีไขมันสูงอย่างไข หรือชีสควรรับประทานแต่พอเหมาะ
นอกจากการทานอาหารที่ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายแล้ว กิจวัตรของเราก็จะช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้เช่นกัน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- นั่งขับถ่ายในท่าที่เท้าสูงขึ้นมาหน่อย สามารถหาเก้าอี้เตี้ยๆ มารองเท้าเพื่อให้อยู่ในท่าที่จะสามารถขับถ่ายออกมาได้อย่างง่ายดาย
- ลองมองหาอาหารเสริมที่มีไฟเบอร์ หรือโพรไบโอติกส์ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
ท้องผูกเรื้อรังป้องกันได้
เพื่อไม่ให้เกิดเป็นโรคร้ายแรงในอนาคต เราควรป้องกันไม่ให้เกิดท้องผูกเรื้อรังเป็นการดีที่สุด ดังนั้น วิธีที่จะช่วยป้องกัน และหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดท้องผูกจะทำยังไง? มาดูกัน
- การกินให้สมดุลระหว่างอาหารที่ให้สารอาหารอื่นๆ และไฟเบอร์ รวมไปถึงโพรไบโอติกส์ ทั้งหมดควรทานให้เหมาะสม เพื่อช่วยเสริมการทำงานของกระบวนการย่อยอาหารและการขับถ่าย
- ดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน (นมก็ส่งผลให้เกิดท้องผูกได้ในบางคน) คุณอาจจะต้องหลีกเลี่ยงการทาน
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่ต้องฝืนร่างกายออกกำลังกายจนหนักเกินไป แค่การเดินก็ช่วยได้มาก
- ทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเป็นตัวช่วย ไม่ว่าจะเป็นไฟเบอร์ หรือโพรไบโอติกส์
ท้องผูกเรื้อรัง มะเร็งเกี่ยวข้องหรือต่างกันอย่างไร
ท้องผูกเรื้อรังอาจส่งผลเป็นปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ร้ายแรงตามมาอย่างเช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะหากมีอาการร่วมอื่นๆ ก็ถือว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และต้องรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เช่น
- มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการขับถ่าย เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือไม่สามารถขับถ่ายได้หมด
- มีอาการปวดท้อง
- มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- ถ่ายเป็นเลือด หรือมีสีดำเข้ม
เมื่อเรามีกิจวัตรประจำวันที่ดีต่อสุขภาพ และการทำงานของระบบขับถ่าย ก็สามารถช่วยบอกลาอาการท้องผูกเรื้อรังได้เลย ที่สำคัญคือการทานอาหารควรมองหาอาหารที่มีไฟเบอร์ และโพรไบโอติกส์ เพื่อสร้างสมดุล และกระตุ้นการขับถ่ายอย่างเป็นประจำ สำหรับใครที่มีอาการเหล่านี้ อยากปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตการกินของตัวเอง อาจจะต้องเริ่มต้นจากการดีท็อกซ์ลำไส้เพื่อขับเอาของเสียที่ตกค้างออกก่อน แล้วเริ่มต้นดูแลสุขภาพกันใหม่ด้วยวิธีที่ทาง HydroHealth แนะนำกันนะคะ